พลังงานทดแทน Win Form

ก้าวสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ขยายฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม

ภายหลังจากการพัฒนาโครงการภายในประเทศได้ระยะหนึ่งแล้ว ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ทำให้บริษัทกันกุลฯ ตัดสินใจที่จะลงทุนด้านพลังงานทดแทนในพื้นที่ 3 รัฐที่ติดกับเขตชายแดนไทย   “เมื่อประมาณปีที่ผ่านมา เราได้เข้าไปจับจองพื้นที่ในประเทศพม่า ครอบคลุม 3 รัฐ ประกอบด้วย รัฐทานิ้นทายี รัฐมอน และรัฐคะยิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับแนวชายแดนของไทย เรามีการทำสัญญากับกระทรวงพลังงานพม่า ว่าจะพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ขณะนี้เรากำลังติดตั้งเสาลมเพื่อการศึกษาศักยภาพลมที่มีอยู่คาดว่าอีกสักประมาณ 2 ปี ก็จะได้ทราบผล ที่นี่เราขออนุญาตไว้ 1,000 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน ประมาณ 70,000 ล้านบาทและคาดว่าจะใช้พื้นที่ในการติดตั้งกังหันลมใน 3 รัฐ ซึ่งหากโครงการสามารถเกิดขึ้นทั้งหมด ก็จะเป็น  Win Farm ที่มีขนาดใหญ่มาก สำหรับพลังงานสายไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะขายให้ประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งขายให้ประเทศพม่า การผลิตไฟฟ้าในส่วนโครงการของเราจะใช้รูปแบบการผลิตพลังงานร่วม เพื่อให้ได้ไฟฟ้าผ่านสายไฟเข้าสู่ระบบมีความเสถียรที่สุด   หากถามว่าทำไมบริษัทกันกุลฯ จึงกล้าตัดสินใจในโครงการที่มีขนาดใหญ่มหึมาขนาดนั้น นั่นเป็นเพราะเหตุผลประการแรก คือ การเริ่มต้นพัฒนาโครงการจะยากหรือง่าย ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ 4 ประการ คือ ทุน ความรู้ ประสบการณ์ และความกล้าที่จะเริ่มต้น เราเชื่อว่าเรามีคุณสมบัติครบ 3 ประการแรก เราจึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำได้ เราจึงกล้าที่จะลงมือทำ เหตุผลประการที่สอง คือ ผลิตแล้ว มีผู้ซื้อแน่นอน ราคาสามารถคำนวนได้ว่าจะสามารถคืนทุนได้เมื่อไหร่ เหตุผลประการที่สาม รายได้ที่ได้รับมี 2 ทาง คือ การขายไฟฟ้า และการขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งขณะนี้เรากำลังให้บริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาในเรื่องดังกล่าวอยู่ ส่วนเหตุผลประการที่สี่คือ ความภูมิใจ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตพลังงานสะอาดที่ช่วยให้ประเทศชาติลดการนำเข้าน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติลงได้    อยากจะเรียนว่า ทุกวันนี้การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทำได้ยากลำบาก เพื่อให้ไฟฟ้าที่เรามีอยู่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงอยากฝากไปยังทุกคนด้วยว่า ขอให้ใช้ไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง และใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะอนาคตเราอาจไม่มีไฟฟ้าราคาถูกใช้อีกต่อไป” 

เศรษฐกิจและสังคมไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ผมเชื่อว่าพลังงานทดแทนจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะทดแทนแต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคต ผมยังมองว่า ณ ขณะนี้การส่งเสริมของภาครัฐยังล่าช้า และน้อยไปนิดหนึ่ง ภาครัฐควรจะต้องเร็ว และเป็นผู้นำในเรื่องนี้ รวมถึงการให้การสนับสนุนต้องเพิ่มมากขึ้นด้วย”คุณกัลกุล กล่าว

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

วิศวกรรมการป้องกันระบบไฟฟ้า

หลักการทำงานของ Auto-Reclosing Relay

  Auto-Reclosing Relay หรือ Autoreclosure (79) ถูกใช้เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของระบบไฟฟ้าก่อนให้ Close Signal ไปยังเซอร์กิตเบรกเกอร์ โดย Auto-Reclosing Relay จะเริ่มทำงานโดยได้รับสัญญาณกระตุ้น (Initiate) จากรีเลย์ป้องกันวงจรสายส่งไฟฟ้า (Line Protection Relay) ซึ่งสามารถตรวจพบฟอลต์และสั่งให้ Trip เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Line Breaker)

  เงื่อนไขในการสับต่อวงจรไฟฟ้ากลับแบบอัตโนมัติที่จะประสบความสำเร็จมีหลายประการ คือ Flashover Arcs ในจุดที่เกิดฟอลต์ควรจะต้องหายไปแล้ว โมเลกุลอากาศรอบๆ จุดที่เกิดอาร์กซึ่งได้แตกตัวกลายเป็นไอออนได้สลายตัวไป (De-Ionization) ก๊าซ SF6 (หรือฉนวนไฟฟ้าแบบอื่นๆ ) ใน Breaker Interrupter กลับสู่สภาพฉนวนและพร้อมสำหรับการดับอาร์กครั้งใหม่ มีพลังงานสะสมในกลไกการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์เพียงสำหรับ Trip-Reclose-Trip รวมทั้งแรงดันไฟฟ้า (Recovery Voltage) ที่ตกคร่อมเซอร์กิตเบรกเกอร์กลับสู่สภาวะปรกติอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งโดยเราจะเรียกว่า Dead Time หรือ Open Time ทั้งนี้ ถ้าเรากำหนดค่า Dead Time ให้กับ Autorecloser น้อยเกินไป การสับต่อวงจรกลับก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าค่า Dead Time ที่เรากำหนดให้ Autorecloser มากเกินไปก็จะทำให้การขนานระบบไฟฟ้ายากมากขึ้น เนื่องมาจากปัญหาของ Power Swing และ Voltage Phase Displacement ที่มากขึ้น

  สำหรับวงจรสายส่งไฟฟ้าที่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์อยู่เพียงหน่วยเดียวในแต่ละปลายของวงจร ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์ทังสองข้างของวงจรสายส่งไฟฟ้าสามารถสับปลดวงจรออกได้พร้อม ๆ กัน (Simultaneous Tripping) จะทำให้ระบบไฟฟ้าและเซอร์กิตเบรกเกอร์ปรับตัวคืนสู่สภาวะปรกติ และพร้อมที่จะทำงานได้อีกครั้งภายในเวลาอันสั้น แต่ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ปลายหนึ่งของวงจรสายส่งไฟฟ้าเกิดทำงานได้ช้ากว่า (รีเลย์ป้องกันนั้นอาจจะทำงานแบบหน่วงเวลา) จะทำให้อาร์กในจุดที่เกิด Flashover อยู่ได้ยาวนานมากขึ้น ดังนั้นการกำหนดค่า Dead Time ของ Autoreclosers ทั้งสองด้านของวงจรสายส่งไฟฟ้าจึงจะต้องมากขึ้นไปอีก มิฉะนั้นการสับต่อวงจรกลับแบบอัตโนมัติจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ระบบป้องกันตรวจพบฟอลต์เดิมอีกครั้งและจะให้สัญญาณ Trip เวอร์กิตเบรกเกอร์ทั้งสองแบบถาวร เพื่อรอการตรวจสอบบำรุงรักษา

  เมื่อเกิดฟอลต์ในวงจรสายส่งไฟฟ้าแรงสูง สิ่งที่ผู้ดูแลระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าต้องการมากที่สุดคือ การนำวงจรสายส่งส่วนที่ได้ถูกปลดออกไปกลับเข้ามาใช้งานได้อีกครั้งโดยเร็วที่สุด โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องกับระบบสายส่งอื่น ๆ ซึ่งการสับต่อวงจรสายไฟส่งกลับเข้าระบบนั้น จะทำได้สำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบป้องกันให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง และการออกแบบลำดับขั้นตอนการงานของ Autoreclosing Relays ทั้งสองด้านของวงจรสายส่งไฟฟ้าให้มีการประสานงานกันอย่างเหมาะสมอีกด้วย

  ลำดับการทำงานของระบบป้องกันเมื่อเกิดฟอลต์บนสายส่งไฟฟ้าและการสับต่อวงจรกลับแบบอัตโนมัติ สามารถพิจารณาโดยเริ่มจาก Distance Relay ตรวจพบฟอลต์ในวงจรสายส่งไฟฟ้าและใช้เวลาในการประมวลผล (Operating Time) ช่วงหนึ่ง จากนั้นจะส่งสัญญาณให้ Trip เซอร์กิตเบรกเกอร์และเมื่อกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ Trip Coil ของเซอร์กิตเบรกเกอร์กลไกการสับปลดวงจรก็จะเริ่มทำงานซึ่งขณะที่ Contact ของเบรกเกอร์กำลังเปิดออก จะเกิด Arc ขึ้นใน Interrupting Chamber และจะถูกทำให้ดับหายไปภายในเวลาช่วงหนึ่ง(Arcing Time) โดยเวลานับตั้งแต่เซอร์กิตเบรกเกอร์รับสัญญาณ Trip และทำการเปิดวงจร จนกระทั่งสามารถดับอาร์กที่ Contact ได้สำเร็จ จะเรียกกว่า “Circuit Breaker’s Operating Time”

  เมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถปลดวงจรสายส่งออกไปแล้วค่ากระแสลัดวงจรที่  Distance Relay ตรวจพบจะหายไปและรีเลย์จะ Reset ฟังก์ชั่นการตรวจพบฟอลต์และทำให้ Output Contact ของรีย์เลย์เปลี่ยนสถานะกลับ (Drop-Out) ไปสู่สภาวะเดิม ในเวลาเดียวกับการให้สัญญาณ Trip เซอร์กิตเบกเกอร์นั้น Distance Relay ก็จะให้สัญญาณกระตุ้น (Initiate) ให้ Auto-Reclosing Relay เริ่มทำงานได้ด้วย เพื่อจะทำให้การสับต่อวงจรอีกครั้งโดยอัตโนมัติหลังจากช่วงเวลา Dead Time ของ Auto-Reclosing Relay ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ค่า Dead Time ดังกล่าว ก็คือเวลาสำหรับรอให้ระบบไฟฟ้ามีความพร้อมที่จะกลับเข้าใช้งานได้อีกครั้งดังต่อไปนี้

·         ลักษณะกลไกการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Operating Mechanism) และการดับอาร์กซึ่งจะมีผลต่อเวลาที่เซอร์กิตเบรกเกอร์พร้อมที่จะรับสัญญาณการ Close อีกครั้ง

·         เวลาที่ใช้ในการ Reset หลังจากตรวจพบว่ากระแสลัดวงจรหายไป ของรีเลย์ป้องกัน เช่น Distance Relay Current Differential Relay หรือ Overcurrent  Relay เป็นต้น ถ้าค่า Dead Time ของ  Reclosing Relay ได้ผ่านพ้นไปแล้วขณะที่รีเลย์ป้องกันยังไม่ Reset หรือ Drop-out จะทำให้เกิดการ Trip วงจรช้าในทันทีหลังจากสับต่อวงจรสายส่งกลับเข้าระบบ

·         เนื่องจากค่า Dead Time คือระยะเวลาที่ปล่อยให้ไอออนในจุดที่เกิดฟอลต์จะสลายตัวไป และเราได้ทราบมาแล้วว่า การปลดวงจรเพียงเฟสที่เกิดฟอลต์นั้น จะทำให้อาร์กอยู่ได้นานมากขึ้นเพราะมี Capacitive Cooupling Currents จากเฟสที่ยังจ่ายไฟฟ้าอยู่ดังนั้น สำหรับ High-Speed Auto-Reclosing นั้น ค่า Dead Time สำหรับ Singe-Pole Tripping Scheme ควรจะมีค่ามากกว่า Three-Pole Tripping Scheme

ในกรณีที่เกิดการลัดวงจรแบบชั่วแวบเดียว อากาศที่เกิดการแตกตัว (Ionized Air) เนื่องจากการอาร์กในจุดที่เกิดฟอลต์จะค่อย ๆ สลายไป (De-Ionization) ได้เองภายในเวลาเพียงชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งจะนานมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ลักษณะของการเกิดฟอลต์ระดับแรงดันไฟฟ้า และสภาพอากาศ ณ จุดที่เกิดฟอลต์ เป็นต้น ถ้า Dead Time มีค่าน้อยสั้นเกินไป อาจทำให้เกิดการลัดวงจรซ้ำขึ้นได้อีก เพราะอากาศยังมีการแตกตัวเป็นไอออนอยู่รอบ ๆ สายส่งไฟฟ้า ทั้งนี้ เราอาจจะกำหนดให้ค่า Dead Time สำหรับ Three-Pole Reclosing Function มีค่าน้อยกว่าค่า Dead Time สำหรับ Single-Pole Reclosing Function ได้ เนื่องจากไม่มีผลของแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำจากเฟสที่ไม่ได้ถูก

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

Stirling Engine

เครื่องยนต์พลังอากาศร้อน รูปภาพ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนทิ้ง ทางออกพลังงานที่ยั่งยืน

จากความต้องการพลังงานของโลกที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้นักวิจัย และพัฒนาด้านพลังงานพยายามพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อทดแทนพลังงานรูปแบบเดิมซึ่งกำลังจะหมดไปในอนาคตอันใกล้นี้ แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน หรือการนำพลังงานที่เหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามไป เพราะการผลิตพลังงานมากเพียงใดก็ตามถ้ายังไม่ประหยัดพลังงาน การผลิตพลังงานสาย powerคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์อย่างแน่นอน ปัจจุบัน การนำพลังงานทิ้งมาผลิตเป็นพลังงาน หรือการผลิตพลังงานจากของเสีย ทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เพราะนอกจากเป็นการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์แล้ว ยังได้พลังงานกลับมาใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไป ปัจจุปันมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการเปลี่ยนของเสีย เป็นพลังงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือพลังงานไฟฟ้าหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานความร้อน การเปลี่ยนพลังงานความร้อนทิ้งเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือการเปลี่ยนพลังงานความร้อนทิ้งเป็นพลังงานความเย็น หรือแม้แต่การเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงานชีวภาพ (Bio Energy) เป็นต้น

จากที่กล่าวมาเครื่องยนต์ความร้อนสเตอร์ลิง เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นทางออกของต้นกำลังทางกลเพื่อใช้ในงานผลิตไฟฟ้า หรือขับอุปกรณ์อื่น ๆ ในกระบวนการอุตสาหกรรมได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งเครื่องยนต์ไม่ก่อเกิดมลภาวะ และยังมีความหลากหลายของแหล่งพลังงานความร้อนเพื่อนำมาขับเคลื่อนเครื่องจักรกลนี้ ซึ่งปัจจุบันนักวิจัยและพัฒนาทั่วโลก พยายามพัฒนาเครื่องยนต์ความร้อนนี้ เพื่อให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างจริงจัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีของเสียเหลือทิ้งมากมาย รวมทั้งขยะที่นับว่ามีแต่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน การพัฒนาเครื่องยนต์ความร้อนเพื่อให้ผลิตพลังงาน สำหรับประเทศไทย ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างจริงจังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานของไทยในอนาคต

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

Hello world!

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!

โพสท์ใน Uncategorized | 1 ความเห็น